ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล

 

การแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย

  1. การแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย
    การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยนั้น อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons หรือ CC) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ในการเผยแพร่ผลงานทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ที่ง่ายต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ให้สามารถน าข้อมูลหรือสารสนเทศเหล่านั้นไปใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของผลงานอีกประวัติของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนฟส์ (CC)
    ริชาร์ด สตอลแมน ได้สร้างตัวแปลชุดค าสั่งภาษา Lisp (ภาษาทางด้านโปรแกรม) โดยยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ ต่อมาบริษัท Symbolics ได้พัฒนาภาษา Lisp ให้
    ดีขึ้นแต่ไม่ยอมเปิดเผย ส่วนที่พัฒนาเพิ่มเติมแม้กระทั่งต่อ ริชาร์ด เอง จึงมีการสร้างสัญญาอนุญาตที่ชื่อว่าCopyleft (ไม่สงวนลิขสิทธิ์) ซึ่งตรงข้ามกับ Copyright (สงวนลิขสิทธ์) ภายหลังจึงเกิดสัญญาอนุญาต ซอฟต์แวร์เสรีชื่อว่า GNU General Public License (GPL) เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แบบ Open Source ให้เจ้าของ
    เผยแพร่ผลงานเป็นสาธารณะแต่ไม่เสียสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งองค์กรไม่แสวงกำไรที่ชื่อ “ครีเอทีฟคอมมอนส์” เพื่อสร้างสัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์นี้
  1. ผลกระทบจากการเผยแพร่ข้อมูล

โฆษณา
REPORT THIS AD

ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้การติดต่อสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่ผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวควรตระหนักไว้เสมอ คือ การใช้วิจารณญาณและการมีความรับผิดชอบในข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ไป และควรมีความรอบคอบโดการตรวจสอบสื่อตางๆ ที่ได้รรับมาว่ามีข้อเท็จจริงหรือมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด ไม่ควรสร้างข่าวบิดเบือนข้อมูล หรือโจมตีให้ร้ายผู้อื่น ที่สำคัญก่อนท่ี่จะรับข้อมูลข่าวสารมาทำการเผยแพร่ต่อไปนั้น ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าข้อมูลมีความเป็นจริงและถูกต้องหรือไม่ เพราะถ้าข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบตางๆ ตามมา จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและการเผยแพร่ข้อมูลด้วยสื่อเทคโนโลยีนั้น มีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยสามารถจำแนกได้ ดังนี้
ผลกระทบด้านบวก
1. ทำให้ผู้รับข่าวสารรับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารและรับส่งข้อมูล
2. เกิดระบบผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยตรวจสอบสร้างสรรค์ วินิจฉับ และให้คำแนะนำในด้านตางๆ เกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
3. สร้างโอกาสในหลายๆ ด้าน เช่นการเรียนของนักเรียนชายขอบ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้รับข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกันและมีโอกาสในการเรียนรู้เช่นเดียวกับการเรียนในเมือง
ผลกระทบด้านลบ
1. หากข้อมูลที่เผยแพร่นั้นไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเข้าใจผิดและเกิดความเสียหายอื่นๆ ตามมา เช่น การเผยแพร่ ข้อมูลในประเด็นการดื่มน้ำมะนาวกับโซดาว่ามีคุณสมบัติในการกำจัดมะเร็งหรือการเผยแพร่ข้อมูลชวนเชื่อ หลอกลวงต่างๆ ซึ่งผู้รับข่าวจะต้องคิดไตร่ตริงและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลอยู่เสมอๆ
2. การละเมิดสิทธิหรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะเห็นกันอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน เช่น การนำผลงานของผู้อื่นที่เผยแพร่หรือไม่เผยแพร่ก็ตามมานำเสนองเป็นงานของตนเอง ซึ่งอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
3. การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นการชักจูงสังคมให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเพื่อหวังผลประโยชน์ต่างๆ

  1. จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีหลักและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีปลอดภัย มีประสิทธิภาพ รวมทั้งถูกต้องตามกฎหมาย และจริยธรรม ควรปฏิบัติดังนี้
    2.1 ข้อพึงระวังและการปฏิบัติ ด้วยหลัก 2P2F เพื่อความปลอดภัย
    1) Prevention ป้องกัน เรียนรู้เครื่องมือและคุณสมบัติของสื่อสังคมออนไลน์ ไม่เชื่อมโยงหรือรับลิงค์เพจ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หรือมีแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
    2) Protection ปกป้อง กาหนดรหัสผ่านที่มีการผสมอักขระตัวเล็กใหญ่ สัญลักษณ์พิเศษ ตัวเลข การใช้คุณสมบัติพิเศษในการปกป้องการใช้งานของอุปกรณ์ในการเข้าถึงและสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้
    3) Final Decision ไตร่ตรอง การตั้งค่าหรือปิดค่าความเป็นส่วนตัว การส่งข้อความ รูปภาพ ต้องตระหนักและเข้าใจถึงผลที่จะเกิดขึ้น “ตัดสินใจครั้งสุดท้ายโดยรอบคอบ”
    4) Friend Acceptation Filtering คัดสรร การยอมรับเพื่อนเข้าสื่อสังคมออนไลน์ต้องคัดกรองก่อน ไม่ควรมีการเปิดสิทธิ์ในการแชร์ข้อความถึงทุกคน

2.2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
1) ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้าย หรือละเมิดผู้อื่น คนบางกลุ่มอาศัยคอมพิวเตอร์ทาร้ายผู้อื่น เช่น ส่ง
อีเมล์ต่อๆ กันไปเพื่อให้ร้ายกับฝั่งตรงข้ามเพื่อหวังผลบางอย่าง
2) ไม่ใช้ในการสอดแนม, แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น แฮกเกอร์หรือบางโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่อันตรายมักให้ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือเปิดเว็บไซต์ จากนั้นก็จะมีการติดตั้งโปรแกรมเล็กๆ เอาไว้สอดแนมการทางานของผู้ใช้งาน พร้อมเปิดดูเอกสารของผู้ใช้งาน อันนี้ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
3) ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร ในกรณีของแฮกเกอร์หรือนักเจาะระบบเมื่อเข้าไปได้ก็มักจะเข้าไปขโมยข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขบัตรประชาชน อันนี้ไม่สมควรอย่างยิ่ง
4) ไม่รบกวนการทางานของผู้อื่น เช่น มีการส่งค่าบางอย่างไปทาให้เน็ตเวิร์กทางานช้าลง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางานช้าลงจนถึงหยุดทางาน
5) ไม่ก็อบปี้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการก็อบปี้โปรแกรมเถื่อน ทั้ง เพลง เกม และภาพยนตร์ เพื่อนาออกขายซึ่งจะทาให้เกิดการเสียหาย
6) ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ คอมพิวเตอร์สามารถใช้สร้างอะไรได้มากมาย จนบางครั้งอาจใช้ไปในทางที่ผิด เช่น การทาสาเนาธนบัตรปลอมเพื่อนาไปใช้จ่ายในสถานที่มืด ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นธนบัตรได้ชัดเจน ทาให้เกิดความเสียหายกับผู้ค้าขาย
7) ไม่นาเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ในบางเว็บไซต์มีการแอบอ้างนารูปภาพของผู้อื่น ไปวางบนเว็บไซต์แล้วบอกว่าเป็นฝีมือถ่ายภาพของตนเอง อันนี้ถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าของภาพ หากมีการนาผลงานมาใช้งานก็ควรมีการอ้างถึงเจ้าของ
8) ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ในบางครั้งที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเปิดเครื่องเอาไว้ อาจมีโปรแกรมแฝงเพื่อเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยอาจใช้เพื่อเป็นเครื่องส่งไวรัสไปยังเครื่องอื่นซึ่งเจ้าของเครื่องอาจไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้า
9) ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีกฎระเบียบแตกต่างกันไป เช่น อาจให้ใช้งานได้เพียง 30 นาทีเท่านั้น หรือมีกฎห้ามไม่ให้นาอาหารเครื่องดื่มมารับประทานขณะใช้งานคอมพิวเตอร์ก็ควรปฏิบัติตาม ในบางแห่งห้ามดาวน์โหลดติดตั้งอะไรลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ควรจะปฏิบัติตาม
10) คานึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทาของท่าน ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางครั้งอาจมีการโพสต์ภาพ โพสต์ข้อความที่ให้เกิดความวุ่นวายได้ เพราะฉะนั้นควรมีความรับผิดชอบในการโพสต์ที่ไม่ทาร้ายสังคมและโดยรวม
2.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
สาระสาคัญที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ควรทราบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีดังนี้ หมวด 1 มาตรา 1 ถึง 4 เป็นข้อความทั่วไปที่ระบุถึงความเป็นมาของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ที่จะต้องทราบและเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการและผู้ใช้ จะเริ่มจากมาตรา 5 จนถึงมาตรา 16 นอกจากนั้นในหมวด 2 – 3 จะเป็นเรื่องของพนักงานเจ้าหน้าที่ และอานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสาคัญ ของการประกอบกิจการ และการดารงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทาด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทางานตามคาสั่งที่กาหนดไว้ หรือทาให้การทางานผิดพลาดไปจากคาสั่งที่กาหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทาลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกาหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทาดังกล่าว
2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ได้ถูก
ประกาศลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 โดยในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่าให้บังคับใช้เมื่อพ้นกาหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สาระสาคัญของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เช่น

  • เพิ่มเติมความผิดของการส่งสแปมเมล์ โดยกาหนดโทษปรับ 200,000 บาท (มาตรา 11)
  • แก้ไขให้ไม่สามารถนาไปฟ้องฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาได้ (มาตรา 14(1))
  • แก้ไขให้ยกเว้นความผิดสาหรับผู้ให้บริการได้หากยอมลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (มาตรา 15)
  • เพิ่มเติมให้ผู้ใดที่มีข้อมูลซึ่งศาลสั่งให้ทาลายอยู่ในครอบครองจะต้องทาลายไม่เช่นนั้นจะได้รับโทษด้วย (มาตรา 16/2)
  • เพิ่มเติมให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่จะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถส่งฟ้องศาลเพื่อระงับหรือลบข้อมูลดังกล่าวได้ (มาตรา 20) ฯลฯ
    3) พระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. 2562
    พระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ได้ถูกประกาศในราชกิจจา
    นุเบกษา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 โดยมีการกาหนดขึ้นมาเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยมีการนิยามความหมายของข้อความและบทบัญญัติ
    ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
    “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า มาตรการหรือการดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อย ภายในประเทศ“ภัยคุกคามทางไซเบอร์” หมายความว่า การกระทำหรือการดาเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้าย ต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทางานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง“ไซเบอร์” หมายความรวมถึง ข้อมูลและการสื่อสารที่เกิดจากการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายโทรคมนาคม รวมทั้งการให้บริการโดยปกติของ ดาวเทียม
    และระบบเครือข่ายที่คล้ายคลึงกัน ที่เชื่อมต่อกันเป็นการทั่วไป “เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดจาก การ
    กระทาหรือการดาเนินการใด ๆ ที่มิชอบซึ่งกระทาการผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบ คอมพิวเตอร์“มาตรการที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายความว่า การแก้ไข ปัญหาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือบริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใด ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ และเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

AI-

  ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)  คือ เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้  การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้ 1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ  AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง)  อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery)  ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน  แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาห

Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์)

  AI ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence แปลเป็นไทยก็ “ความฉลาดที่มีการสร้างขึ้นมา” หรือตามที่เคยได้ยินก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ และมุมมองในการให้ความหมายก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละคน ถ้าสมมติคุณไปถามคนเหล่านั้น ถ้าเป็นคนที่อยู่ในแวดวงเกี่ยวกับพวกเทคโนโลยีก็อาจจะเอาไปเปรียบเทียบว่ากับพวกหุ่นยนต์โรบอท บางคนก็เอาไปเปรียบเทียบเป็นตัวละครในหนังอย่างเช่น เรื่อง Terminator ที่ตัวหุ่นยนต์มีความคิดและการกระทำเป็นของตัวเอง แต่ถ้าคุณถามเรื่อง AI กับพวกนักวิจัยที่เค้าทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ก็จะได้คำตอบประมาณว่า จริง ๆ แล้วมันคือ ชุดของ Algorithm ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาได้เองโดยที่ไม่ต้องแนะนำวิธีการให้ สรุปเป็นภาษาทางการง่าย ๆ ก็คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ให้มีความสามารถในการคิดได้เองโดยที่ไม่ต้องสอน คิดและแสดงออกแบบมีเหตุผลได้เหมือนมนุษย์ ทีนี้ก็จะต้องมีคำถามว่า แล้วจะวัดผลได้อย่างไรว่า AI ทำได้เหมือนมนุษย์แล้ว? ปัจจุบันมีวิธีวัดผลอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ Turing Test – วิธีนี้จะใช้การวัดผลโดยการดูว่า AI รับมือกับบทสนทนากับมนุษย์อย่างไร ซึ่งจุดประสงค์คือ ต้องทำให้คนที่