ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์)


 AI ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence แปลเป็นไทยก็ “ความฉลาดที่มีการสร้างขึ้นมา” หรือตามที่เคยได้ยินก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ และมุมมองในการให้ความหมายก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละคน ถ้าสมมติคุณไปถามคนเหล่านั้น ถ้าเป็นคนที่อยู่ในแวดวงเกี่ยวกับพวกเทคโนโลยีก็อาจจะเอาไปเปรียบเทียบว่ากับพวกหุ่นยนต์โรบอท บางคนก็เอาไปเปรียบเทียบเป็นตัวละครในหนังอย่างเช่น เรื่อง Terminator ที่ตัวหุ่นยนต์มีความคิดและการกระทำเป็นของตัวเอง แต่ถ้าคุณถามเรื่อง AI กับพวกนักวิจัยที่เค้าทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ก็จะได้คำตอบประมาณว่า จริง ๆ แล้วมันคือ ชุดของ Algorithm ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาได้เองโดยที่ไม่ต้องแนะนำวิธีการให้

สรุปเป็นภาษาทางการง่าย ๆ ก็คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ให้มีความสามารถในการคิดได้เองโดยที่ไม่ต้องสอน คิดและแสดงออกแบบมีเหตุผลได้เหมือนมนุษย์

ทีนี้ก็จะต้องมีคำถามว่า แล้วจะวัดผลได้อย่างไรว่า AI ทำได้เหมือนมนุษย์แล้ว?
ปัจจุบันมีวิธีวัดผลอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ

  1. Turing Test – วิธีนี้จะใช้การวัดผลโดยการดูว่า AI รับมือกับบทสนทนากับมนุษย์อย่างไร ซึ่งจุดประสงค์คือ ต้องทำให้คนที่คุยด้วย ไม่สามารถเดาได้ว่ากำลังคุยกับ AI อยู่ การที่จะทำแบบนี้ได้ AI ต้องมีความสามารถดังนี้
  • ใช้ Natural Language Processing (NLP) ในการสื่อสารได้
  • มีความรู้รอบตัวในการตอบโต้เพื่อใช้ในการช่วยจำ
  • สามารถใช้เหตุผลในการให้ข้อมูล, ตอบคำถาม หรือให้ข้อสรุปได้
  • ใช้ Machine Learning ในการตรวจจับรูปแบบการทำงานเพื่อนำไปใช้กับสถานการณ์ใหม่ ๆ
  1. The Cognitive Modelling Approach – วิธีนี้จะเป็นการเลียนแบบวิธีคิดแบบมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ตัวช่วย 3 อย่างคือ
  • Introspection: ใช้การสังเกตว่าคิดอย่างไร แล้วสร้าง Mode เพื่อให้เรียนรู้
  • Psychological Experiments: ทดลองกับร่างกายมนุษย์ และสังเกตพฤติกรรมเพื่อการเรียนรู้
  • Brain Imaging: ใช้ MRI ในการ Scan เพื่อดูว่าสมองมีการทำงานอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างกันและเลียนแบบทำซ้ำตามข้อมูลที่มี
  1. The Law of Thought Approach – วิธีนี้จะเป็นวิธีการที่เตรียมการเยอะที่สุดเพราะต้องใช้หลักการเข้ามาเกี่ยวข้อง และนำไปป้อนให้ Algorithm จัดการต่อ ปัญหาก็คือ การจะแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการกับการแก้ไขในสถานการณ์จริงค่อนข้างจะต่างกันอยู่ ทำให้ต้องลงรายละเอียดในการให้ข้อมูลกับ AI ได้เรียนรู้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ได้กลับมา 100% ถ้ามีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะเกินไป
  1. The Rational Agent Approach – วิธีนี้จะใช้การตรวจสอบโดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในสถานการณ์จริง จากข้อ 3 เราต้องป้อนหลักการเข้าไปให้ AI ตอบสนอง แต่ถ้าเราไม่ได้บอกว่าอันไหนผิดหรือถูก ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาได้หลากหลายรูปแบบ การตรวจสอบโดยใช้เหตุผลจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย ไม่ได้เอาหลักการมาเป็นตัวอ้างอิง ขอให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีก็พอ

AI ทำงานได้อย่างไร?

การสร้างระบบ AI ขึ้นมาจะใช้การเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์เพื่อนำความสามารถไปใส่ในเครื่องจักรเพื่อให้สามารถทำให้ AI คิดและประมวลผลได้ การที่ถามว่า AI ทำงานได้อย่างไร สิ่งที่ต้องมีก็คือ ชุดข้อมูล (Input) ที่นำไปให้  AI ประมวลผลแล้วตอบกลับมา (Response)Input มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น คำพูด ข้อความ หรือการกระทำต่าง ๆResponse ก็อยู่ที่ว่าเราต้องการให้ตอบออกมาเป็นแบบใด คำพูด ข้อความ หรือการกระทำต่าง ๆ แล้วเราก็เอา Response นั้นไปใช้ประโยชน์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเราครับ

ชนิดของ AI แบ่งเป็นแบบใดบ้าง?

ในปัจจุบันมีการแบ่ง AI ออกเป็น 3 ชนิด คือ

  1. Artificial Narrow Intelligence (ANI) – เป็นรูปแบบของ AI ที่เราเจอได้บ่อย ๆ ในตลาดในปัจจุบัน AI ชนิดนี้ออกแบบมาให้แก้ไขปัญหา ๆ เดียว ทำให้รับมือกับปัญหา ๆ เดียวได้ดีตามชื่อของมันก็คือ Narrow ความสามารถที่มีก็เช่น สามารถแนะนำสินค้าที่คนต้องการได้ เวลาเราเข้า E-commerce Website เพื่อไปซื้อของ หรือพยากรณ์อากาศ ทุกวันนี้เราก็เห็น AI ทำงานได้แบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ทำได้ก็จะอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยการใช้ตัวแปรไม่กี่ตัวในการทำงาน
  2. Artificial General Intelligence (AGI) – ตอนนี้ยังเป็นเพียงแค่ Concept อยู่ เนื่องจากการที่จะทำให้ AI มีเหตุผลที่สามารถคิดเองได้จะต้องใช้ศาสตร์หลายแขนงเข้ามาช่วยเช่น การทำ Language processing, การทำ Image processing และอื่น ๆ เรายังต้องใช้เวลาอีกนานในการสร้าง AI แบบ AGI ระบบนี้จะต้องใช้การทำงานร่วมกันของ ANI แบบหลาย ๆ ตัว เพื่อเข้ามาช่วยในการให้เหตุผลที่ต้องสอดคล้องกัน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Compute Infrastructure ที่จะต้องมารองรับการทำงานจำพวกนี้ มีคนเคยทดลองมาแล้ว เช่น K ของ Fujitsu หรือ Watson ของ IBM พบว่าใช้เวลา 40 นาทีในการประมวลผลกิจกรรมของประสาทแค่ 1 วินาที แค่นี้ก็เดากันง่าย ๆ แล้วว่าการทำงานของสมองมนุษย์มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าเราจะพัฒนากันไปได้มากแค่ไหนนะครับ
  3. Artificial Super Intelligence (ASI) – ชนิดสุดท้ายที่ยังคงเป็นเพียงทฤษฎี ASI ก็คือการที่เราเอา AGI มาทำงานร่วมกัน ทำให้ก้าวข้ามความสามารถของมนุษย์ไปแล้ว อันนี้พูดถึงการคิดในการที่จะตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล โดยที่รวมเอาความรู้สึกนึกคิดเข้าไปแล้วนะครับ ตัวนี้เราจะลงรายละเอียดกันมากไม่ได้ค่อยได้เพราะยังไม่มีใครที่ทดลองได้นะครับ

จุดประสงค์ของการใช้งาน AI คืออะไร?

จุดประสงค์ของ AI คือการช่วยให้มนุษย์สามารถที่จะตัดสินใจในสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลที่ AI ย่อยออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ในมุมมองเชิงจิตวิทยา AI ก็จะเข้ามาช่วยให้มนุษย์ทำงานลดลงนั่นเองAI ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาเหมือน ๆ กับที่เราพัฒนาอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตั้งแต่อดีต การที่เราพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาก็เพื่อจะพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความไม่เท่าเทียม อันนี้เราพูดถึงหลักการรวม ๆ นะ แต่ปัจจุบัน AI ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในบริษัทเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบงาน, การบริหารจัดการงาน, การทำนายผลลัพธ์ทางธุรกิจโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีมากกว่าเดาหรือการคิดไปเอง (ใช้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจนั่นแหละ) ซึ่งการที่นำเทคโนโลยีแบบนี้มาใช้ได้ก็ต้องมีการพัฒนา มีการวิจับ มีราคาที่ต้องจ่ายครับ

เอา AI ไปใช้ทำอะไรบ้าง?

มีการเอา AI ไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและแนะนำสิ่งต่าง ๆ ได้จากชุดข้อมูลที่มี เช่น

  • Google Search ที่คาดเดาว่าคุณจะค้นหาอะไรจากการพิมพ์ข้อความ โดยจะมีชุดข้อความลอยขึ้นมาช่วยให้คุณสามารถค้นหาข้อความได้ตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุด
  • Netflix ที่ใช้ข้อมูลของ User ในอดีตในการแนะนำหนังที่ User อาจจะอยากดูเป็นเรื่องต่อไปเพื่อทำให้ User ใช้เวลากับ Application นานขึ้น ดูหนังนานขึ้น
  • Facebook ใช้ข้อมูลในอดีตของ User ในการแนะนำให้ Tag เพื่อนของคุณในรูป โดยอาศัยเรื่องของ Facial Recognition ในหลาย ๆ รูปเทียบกัน

ผมขอยกตัวอย่าง Application ที่คนส่วนใหญ่ใช้งาน ซึ่ง Application เหล่านี้ใช้เทคโนโลยี AI ในการช่วยดำเนินการ คือ

  • Google Maps
  • Application เรียกรถ Taxi เช่น Grab, Uber
  • AI Autopilot บนเครื่องบิน
  • Spam filters ที่ใช้กันใน Email Platform
  • Facial Recognition เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าต่าง ๆ
  • Search recommendations ที่แนะนำว่าเราเหมาะกับสินค้าอะไร
  • Voice-to-text ที่เปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นข้อความ
  • Smart personal assistants เช่น Siri หรือ Alexa

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

AI-

  ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)  คือ เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้  การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้ 1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ  AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง)  อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery)  ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน  แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาห

ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล

  การแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย การแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยนั้น อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons หรือ CC) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ในการเผยแพร่ผลงานทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ที่ง่ายต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ให้สามารถน าข้อมูลหรือสารสนเทศเหล่านั้นไปใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของผลงานอีกประวัติของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนฟส์ (CC) ริชาร์ด สตอลแมน ได้สร้างตัวแปลชุดค าสั่งภาษา Lisp (ภาษาทางด้านโปรแกรม) โดยยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ ต่อมาบริษัท Symbolics ได้พัฒนาภาษา Lisp ให้ ดีขึ้นแต่ไม่ยอมเปิดเผย ส่วนที่พัฒนาเพิ่มเติมแม้กระทั่งต่อ ริชาร์ด เอง จึงมีการสร้างสัญญาอนุญาตที่ชื่อว่าCopyleft (ไม่สงวนลิขสิทธิ์) ซึ่งตรงข้ามกับ Copyright (สงวนลิขสิทธ์) ภายหลังจึงเกิดสัญญาอนุญาต ซอฟต์แวร์เสรีชื่อว่า GNU General Public License (GPL) เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แบบ Open Source ให้เจ้าของ เผยแพร่ผลงานเป็นสาธารณะแต่ไม่เสียสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งองค์กรไม่แสวงกำไรที่ชื่อ “ครีเอที